รู้หรือไม่? งานโครงการก่อสร้างทั้งของภาครัฐ และเอกชน เช่น ศูนย์ราชการ โรงพยาบาล สถานศึกษา โครงการบ้านจัดสรร ตึก อาคารสูงที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ ส่วนมากมักเลือกใช้อิฐแดง มอก. ในการนำมาก่อผนัง เนื่องจากเป็นอิฐแดงที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งในปัจจุบัน มีโรงงานผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายอยู่ไม่น้อยเลย แต่อิฐแดง มอก. ที่เราเห็นกันในท้องตลาดทั่วไปนั้น จะเป็นอิฐแดง มอก. ที่ผ่านการรับรองทั้งหมดจริงหรือ? วันนี้พี่อิฐเลยอยากจะมาแชร์เทคนิคการตรวจเช็คอิฐแดง มอก. ที่คุณกำลังจะซื้อ ว่าเป็น มอก.ปลอมหรือไม่ แล้วการซื้ออิฐแดง มอก.ปลอม จะมีความผิดมั้ย? ไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยครับ
อิฐแดง มอก. คืออะไร?
อิฐแดงที่ผ่านการตรวจสอบ และได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เพื่อความปลอดภัย และเพื่อป้องกันความเสียหาย อันอาจจะเกิดกับประชาชน จึงมั่นใจได้ว่า อิฐแดงที่ได้รับเครื่องหมาย มอก. นั้นเป็นอิฐแดงที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ
1. อิฐแดง มอก. 77-2545 อิฐก่อสร้างสามัญ ลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมตัน มีความหนาแน่น เหมาะกับการก่อผนังที่ต้องการตอก เจาะ และงานที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง
2. อิฐแดง มอก. 153-2540 อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก อิฐแดงชนิดมีรูกลวง ช่วยระบายความร้อน และมีน้ำหนักเบา เช่น อิฐแดง 2 รู, อิฐแดง 3 รู และอิฐแดง 4 ช่อง
บทความที่เกี่ยวข้อง l อิฐแดง มอก. คืออะไร?
วิธีตรวจเช็คอิฐแดง มอก. ปลอม
1. ตรวจดูลักษณะภายนอกทั่วไป ก้อนอิฐแดง มอก. ต้องได้เหลี่ยมมุมที่ชัดเจน ไม่บิดงอ แตกหัก ไม่มีรอยร้าว หรือรอยอื่น ๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการนำไปก่อ และฉาบปูนทับ แต่ในกรณีแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับบางก้อน จึงควรพิจารณาข้อ 2 ร่วมด้วย
2. ตรวจดูเครื่องหมาย มอก. บนตัวอิฐ รอยปั๊มที่อยู่บนตัวอิฐแดง มอก. จะประกอบไปด้วย
– ชื่อผู้ผลิต, ชื่อโรงงานผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
– เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมาย มอก.ที่ไม่มีวงกลมล้อมรอบ
– เลข มอก. ตามชนิดของอิฐ เช่น อิฐแดง มอก. 77-2545 และ อิฐแดง มอก. 153-2540
3. ขอดูใบอนุญาต มอก. จากผู้จัดจำหน่ายสินค้า หรือโรงงานที่ผลิต ซึ่งจะมีการระบุเลขที่ใบอนุญาต ชื่อ ที่อยู่โรงงาน ของผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างชัดเจน คุณสามารถนำเลขที่ใบอนุญาตไปตรวจสอบได้ที่ tisi.go.th เพื่อยืนยันว่าผู้ผลิตได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจริง
โทษของผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายอิฐแดง มอก. ปลอม
ขึ้นชื่อว่าการปลอมแปลง การทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด หรือการกระทำที่ขัดกับข้อกำหนดกฎหมาย ผู้กระทำผิดย่อมได้รับโทษอยู่แล้ว ซึ่งโทษที่ได้รับจะมีความแตกต่างกันไป ดังนี้
1. ผู้ผลิตอิฐแดง มอก. ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ผู้จัดจำหน่าย ที่จำหน่ายอิฐแดง มอก. ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.๒๕๑๑
ซื้ออิฐแดง มอก. ปลอม จะมีความผิดหรือไม่ ?
พี่อิฐขอสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ โดยการแยกผู้ซื้อเป็น 3 กลุ่ม คือ ซื้อไปขายต่อ ซื้อไปทำบางสิ่งบางอย่างที่จะก่อให้เกิดรายได้ และซื้อไปใช้งานเอง ซึ่งผู้ซื้อแต่ละประเภทจะมีโทษดังต่อไปนี้
1. ซื้อไปขายต่อ เช่น ร้านวัสดุก่อสร้าง โมเดิร์นเทรด ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจ หรือความไม่รู้ก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลงพื้นที่สุ่มตรวจ แล้วพบว่ามีการจำหน่ายอิฐแดง มอก. ปลอม ผู้จัดจำหน่ายจะได้รับโทษที่พี่อิฐได้บอกไปแล้วในโทษของผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายอิฐแดง มอก. ปลอม
2. ซื้อไปทำบางสิ่งบางอย่างที่จะก่อให้เกิดรายได้ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทรับเหมาก่อสร้าง มีหน้าที่ดูแลในส่วนของการก่อสร้าง และซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง แต่เมื่อพบว่าผู้รับเหมาก่อสร้าง ใช้วัสดุที่ไม่เป็นไปตามสเป็คที่ระบุไว้ เช่น การใช้อิฐแดง มอก. ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ว่าจ้างเสียประโยชน์ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์บอกยกเลิกสัญญาจ้างได้ทันที และยังสามารถฟ้องร้องเรียกค่าปรับได้ หรือในกรณีอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 บัญญัติไว้ว่า
“ผู้ใดกระทำโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้องความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ” ข้อมูลอ้างอิงจาก : ประมวลกฎหมายอาญา
3. ซื้อไปใช้เอง แน่นอนว่าการซื้อไปใช้งานเองนั้นไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิด เพราะเป็นสิทธิ์ของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ตามความพึงพอใจของตัวเอง แต่การซื้อผลิตภัณฑ์ปลอมที่คุณอาจจะไม่รู้ตัวก็ตาม นับเป็นการสนับสนุนผู้กระทำผิดทางอ้อม ทำให้ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายได้ใจ คิดว่าต่อให้ผลิต หรือจำหน่ายสินค้าที่เป็น มอก. ปลอม ไม่ได้มาตรฐาน ก็ยังมีคนซื้ออยู่ดี
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะซื้ออิฐแดง มอก. ไปใช้ในรูปแบบไหนก็ตาม คุณควรเลือกซื้ออิฐแดง มอก. ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรรมจริง โดยตรวจสอบสินค้าก่อนซื้อ ตามทริคที่พี่อิฐนำมาฝาก และเลือกซื้อสินค้าจากผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายที่ไว้ใจได้ อย่าหลงเชื่อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะเพียงแค่มีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งโดยเฉลี่ย อิฐแดง มอก. จะมีราคาสูงกว่าอิฐแดงทั่วไป แต่คุณภาพที่ได้รับก็ถือว่าเหมาะสม และคุ้มค่า นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอีกด้วย
เลือกซื้ออิฐแดง มอก. กับอิฐแดง2009 เราคัดสรรสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐแดง มอก.คุณภาพดี มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ พร้อมบริการส่งสินค้าตัวอย่างฟรี ให้คุณได้ดูลักษณะภายนอก และตราปั้มจริง ๆ ถึงหน้าบ้าน ช้อปเลย https://itdang2009.com/ สนใจสินค้า ติดต่อ Line : @ITDANG2009 https://line.me/ti/p/~@itdang2009