Search
อิฐแดง กับคนเวียดนาม สายสัมพันธ์นับ 100 ปี สู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์

อิฐแดง กับคนเวียดนาม สายสัมพันธ์นับ 100 ปี สู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์

          ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ‘เวียดนาม’ เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรม ทั้งอาคาร บ้านเรือน คาเฟ่ ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งถ้าลองเสิร์ชในเว็บไซต์ Archdaily ดู ก็จะต้องเจอผลงานของสถาปนิกชาวเวียดนามนี่แหละ ที่ขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ และเชื่อว่า กว่า 80% เรามักเห็นการเลือกใช้อิฐแดง มาเป็นวัสดุหลักในงานก่อสร้าง และตกแต่ง คำถามคือ ทำไมอิฐแดงถึงเป็นวัสดุยอดนิยมในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของคนเวียดนาม? วันนี้พี่อิฐมีคำตอบครับ รวมไปถึงจุดกำเนิดของสายสัมพันธ์ระหว่างคนเวียดนามกับอิฐดินเผา และจุดเริ่มต้นของการผลิตอิฐแดงช่องลมที่ใช้ในงานตกแต่งของคนเวียดนามนั้นมาจากอะไร ไปดูกันเลย

การทำอิฐของคนเวียดนาม

ภาพจาก Rom Flickr

          การทำอิฐดินเผา กับคนเวียดนามนั้นอยู่คู่กันมานานหลายร้อยปี ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการสร้างสถาปัตยกรรมของจีน ในรัชสมัยของราชวงศ์เหงียน ค.ศ. 1820 ได้จัดสร้างเมืองใหม่ในเมืองเว้ ทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยจักรพรรดิซาลองได้ส่งช่างเวียดนามไปเรียนรู้แบบแผนการสร้างพระราชวังที่กรุงปักกิ่ง เพื่อนํามาสร้างพระราชวังเว้ตามแบบของจีนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่รูปแบบการวางผัง รวมถึงรูปแบบของงานภูมิสถาปัตยกรรม งานสถาปัตยกรรมของเวียดนามจึงมีความคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมของจีนในช่วงแรก

พระราชวังเว้
ภาพจาก huetrongtoi.com

          Đại Nội Huế พระราชวังเว้ สถาปัตยกรรมแบบจีน ที่ก่อสร้างโดยช่างชาวเวียดนาม ตัวผนังก่อสร้างจากหิน และอิฐแดงที่ยังคงความสมบูรณ์ แม้เวลาจะผ่านมานานนับร้อย ๆ ปี 

          ต่อมาในช่วงปี ค.ศ.1883 หลังจากการยึดครองของฝรั่งเศส ทำให้เมืองเล็ก ๆ ที่เคยเงียบสงบ อย่างไซง่อน กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ โดยเริ่มมีการวางผังเมืองใหม่ การก่อสร้างอาคาร สถานที่ราชการ โดยเฉพาะโบสถ์สอนศาสนาคริสต์ตามแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ที่ต้องใช้อิฐแดงมาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และตกแต่งด้วยลายฉลุบนบานกระจก หรือราวระเบียง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากสถาปัตยกรรมอังกฤษ และแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และโปรตุเกส จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตอิฐแดงช่องลมเพื่อใช้ในการตกแต่งของประเทศเวียดนามนั่นเอง

โบสถ์คริสต์ ฟู้ยาย (Phú Nhai) หนึ่งในมหาวิหาร4แห่งในเวียดนาม
ภาพจาก manhhai

          โบสถ์คริสต์ ฟู้ยาย (Phú Nhai) หนึ่งในมหาวิหาร 4 แห่งในเวียดนาม ก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ตกแต่งด้วยการฉลุลวดลายต่าง ๆ บนผนัง และบานกระจก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการผลิตอิฐช่องลมในเวียดนาม

          จวบจนต้นศตวรรษที่ 20 ยุครุ่งเรืองของการทำอิฐ มีโรงงานผลิตอิฐดินเผาเกิดขึ้นมากมาย อย่างชุมชนชนบท อำเภอ Mang Thít แถบแม่น้ำโขง จังหวัด Vĩnh Long ที่ได้รับขนานนามว่า “อาณาจักรเตาอิฐ” หรือ “ดินแดนสีแดง” หมู่บ้านผลิตอิฐแดง กระเบื้อง และเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเวียดนาม เป็นการทำอิฐแบบ ‘ดั้งเดิม’ จากทรัยพยากรดินเหนียวในธรรมชาตที่อยู่โดยรอบ ซึ่งมีให้ใช้ได้ไม่จำกัด ทำให้ที่นี่มีเตาเผามากถึง 1,500 เตา คอยปล่อยควันจากฟืน และแกลบออกมาตลอดกว่าร้อยปีที่ผ่านมา

MANG THÍT VĨNH LONG
ภาพจาก vinlove.net
MANG THÍT VĨNH LONG อิฐเวียดนาม
ภาพจาก baodantoc.vn
อิฐแดง
ภาพจาก thamhiemmekong.com

          ด้านหน้าเตาแต่ละเตาจะมีแท่นบูชาเล็ก ๆ นั่นคือ ศาลเจ้าสำหรับ “เทพเจ้าแห่งเตาเผา” จากความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งได้รับการปกป้องโดยพระเจ้า ดังนั้นการบูชาเทพเจ้าดังกล่าวจะสามารถปัดเป่าความยากลำบาก และอันตรายในอาชีพของพวกเขาออกไป สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้ผลิต ที่ได้สร้างสายสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์กับเตาเผาของพวกเขา เพราะเตาเผาเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขาจะขาดไปไม่ได้ เหมือนดั่งเครื่องช่วยหายใจ

เตาเผาอิฐมังทิต
ภาพจาก saigoneer.com

          และในปี ค.ศ.1993 ผลิตภัณฑ์ดินเผาของ Vĩnh Long ได้ลงนามในสัญญาการส่งออก มีหลายองค์กรเข้ามาลงทุนขยายการผลิต เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมถึงหมวดหมู่ของสินค้าก็ยังได้รับการพัฒนาที่หลากหลายมากขึ้นด้วย ซึ่งส่งออกให้กับยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และบางประเทศในแถบเอเชีย นอกจากนี้ยังได้รับการส่งเสริมประสิทธิภาพโดยองค์กรด้านการวิจัย และพัฒนาจำนวนหนึ่ง ทำให้การผลิตอิฐแดงยังคงเติบโต และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

อิฐแดงเวียดนาม
ภาพจาก didimouman

          แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และมาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมใหม่  หมู่บ้านผู้ผลิตอิฐ และกระเบื้องแบบดั้งเดิมแห่งนี้ก็ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา เตาเผาจำนวนมากจึงถูกทิ้งร้าง เต็มไปด้วยเถาวัลย์ที่ปกคลุม และค่อย ๆ พังทลายลง เหลือเพียงความทรงจำของผู้คนในหมู่บ้าน และเตาเผาจำนวน 115 เตา ที่ยังคงทำงานอยู่จนถึงปัจจุบัน กับบทบาทใหม่ในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และสมบัติทางสถาปัตยกรรมของ Mang Thít

เตาอิฐมังทิต ที่ยังเหลืออยู่
ภาพจาก zingnews.vn

          หลังจากปี ค.ศ.1960 หลาย ๆ โรงงานได้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ โดยนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เข้ามาแทนการผลิตแบบดั้งเดิม เช่น สายการผลิตแบบซิงโครนัสของอิตาลี และใช้เตาเผาแบบ Continuous kiln เตาเผาวงแหวน หรืออุโมงค์ ที่มีระบบควบคุมอย่างดี ใช้งานง่าย สะดวก และยังประหยัดพลังงาน สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี เหมาะกับการผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภค และธุรกิจการก่อสร้าง ซึ่งมีการพัฒนาระบบอย่างสม่ำเสมอ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า

อิฐแดง
ภาพจาก vatlieuxaydung.org.vn

          เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ข้อจำกัดในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ ๆ ก็ถูกลดทอนลง นำไปสู่การพัฒนาสินค้าดินเผาใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอิฐแดงก่อสร้างที่มีหลากหลายขนาดให้เลือก เพื่อตอบโจทย์กับการใช้งานที่เหมาะสม หรือจะเป็นกระเบื้องดินเผารูปทรงแปลกตา ที่มาพร้อมคุณสมบัติป้องกันการซึมน้ำได้ในตัวเอง ไปจนถึงอิฐแดงช่องลมลวดลายปราณีตมากมาย ที่หากเดินทางไปถึงเวียดนาม จะต้องพบกับบ้านที่ก่อสร้าง และตกแต่งด้วยผนังอิฐแดง และอิฐแดงช่องลม อยู่ไม่น้อยเลย

อิฐแดง
ภาพจาก Hiroyuki Oki
อิฐแดง
ภาพจาก Hiroyuki Oki

คำถามคือ ‘ทำไมอิฐแดง และอิฐแดงช่องลม จึงเป็นที่นิยมในสถาปัตยกรรมของเวียดนาม?’

          “เราอาศัยอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน เมืองที่เราอาศัยอยู่คับแคบ และผู้คนต้องพึ่งพาอุปกรณ์ทำความเย็นเป็นอย่างมากเพื่อรับมือกับอากาศร้อน ซึ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก ในฐานะสถาปนิก เราต้องการหาวิธีการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยที่ปรับเปลี่ยนได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยในเรื่องลดการใช้พลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจึงใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นของอิฐแแดงในโครงสร้างของเรา อิฐสามารถสร้างผนังที่มีรูพรุนซึ่งช่วยให้ลม และแสงแดดผ่านเข้าไปได้ ในขณะเดียวกันอิฐยังเป็นวัสดุที่สามารถสร้างสรรค์ลวดลายที่สวยงาม ทั้งยังมีเสน่ห์เมื่ออยู่ท่ามกลางแสงเงาธรรมชาติ”

           บทสัมภาษณ์ของ สถาปนิก Tropical Space จาก de51gn.com Nguyen Hai Long และ Tran Thi Ngu Ngon สองสถาปนิกผู้หลงใหลในเสน่ห์ และเอกลักษณ์ของอิฐแดง จนนำมาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบในงานของพวกเขา เช่น Terra Cotta Studio ผลงานการออกแบบการันตีรางวัล จาก Architizer A+ Award 2017 ในสาขา Architecture +Workspace

Nguyen Hai Long และ Tran Thi Ngu Ngon

Nguyen Hai Long และ Tran Thi Ngu Ngon ผู้ก่อตั้ง Tropical Space

อิฐแดง

Terra Cotta Studio ผลงานการออกแบบของ สถาปนิก Tropical Space

          ด้วยเหตุผลนี้ อิฐแดง และอิฐแดงช่องลม จึงเป็นวัสดุที่ถูกหยิบมาใช้ในงานก่อสร้าง และตกแต่งอยู่เสมอ เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องปัญหาภูมิอากาศร้อนชื้น และพื้นที่ใช้สอยที่คับแคบแล้ว ยังมีความสวยงามเฉพาะตัว สามารถดีไซน์การใช้งานได้แบบไม่มีข้อจำกัด ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีเอกลักษณ์ ที่สำคัญยังสะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และความทรงจำในอดีตของชาวเวียดนามได้อย่างชัดเจน

อิฐแดง
ภาพจาก Quang Tran
อิฐแดง
อิฐแดง
อิฐแดง

          ปัจจุบัน ประเทศเวียดนาม มีโรงงานผลิตอิฐแดง และอิฐแดงช่องลมอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนผ่านการผลิตที่ได้มาตรฐาน ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอ พร้อมลวดลายปราณีต ที่มีให้เลือกมากกว่า 20 ลวดลาย ซึ่งเรารวบรวมไว้ให้คุณแล้วที่นี่ เลือกเลย!

อิฐแดงช่องลมที่เราแนะนำ

อิฐแดงช่องลม ลาย ซิกแซ็ก02

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

อิฐแดงช่องลม ลายเกียร์

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

อิฐแดงช่องลม ลายซันเซ็ท

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

อิฐแดงช่องลม ลายซิกแซ็ก

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

อิฐแดงช่องลม ลายประภาคาร

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

อิฐแดงช่องลม ลายสเตลลาร์

ให้คะแนน 0 ตั้งแต่ 1-5 คะแนน

ติดต่อ สอบถาม
Line : @ITDANG2009

ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://vinhlongtourist.vn/
https://vatlieuxaydung.org.vn/
https://saigoneer.com/
วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสนต์ สจล. เรื่อง ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเวียดนามที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและฝรั่งเศส

Share this post