Search
ปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่าอย่างไรให้ถูกต้อง?

ปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่าอย่างไรให้ถูกต้อง?

         “ปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่าได้มั้ย?” คำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย อาจเพราะไม่ถูกใจกระเบื้องลายเดิม หรือกระเบื้องเดิมมีคราบฝังลึก สกปรกจนขจัดไม่ออก และเก่าเกินไปไม่สวยงาม แต่ก็ไม่อยากเสียเวลารื้อกระเบื้อง เพราะยุ่งยาก แถมอาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติม การปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่าจึงตอบโจทย์ปัญหานี้ได้ดีที่สุด ถ้าอย่างนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าวิธีปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่าที่ถูกต้องนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

  • ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวกระเบื้องเดิม
  • วัสดุอุปกรณ์สำหรับปูกระเบื้องใหม่
  • ขั้นตอนการปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่า
  • ข้อดี-ข้อเสีย ของ การปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า

     | บทความที่เกี่ยวข้อง :

ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวกระเบื้องเดิม

  1. ตรวจสอบพื้นผิวกระเบื้องเดิม โดยกระเบื้องทุกแผ่นต้องเรียบเสมอกัน ไม่มีรอยแตกร้าว หรือฝุ่น คราบไขมัน 
  2. ในกรณีที่มีกระเบื้องชำรุด เสียหาย ควรสกัดแผ่นที่ชำรุดออก แล้วปรับระดับพื้นให้เท่ากับกระเบื้องแผ่นอื่น
  3. ทำความสะอาดพื้นกระเบื้องเดิมให้ปราศจากฝุ่น และคราบไขมัน ที่อาจจะทำให้การปูกระเบื้องใหม่ไม่มีปะสิทธิภาะ และมีโอกาศหลุดร่อน 
  4. ในกรณีที่เป็นการปูกระเบื้องพื้น ควรเช็ดช่องว่างละหว่างประตูและพื้น เพราะเมื่อปูกระเบื้องทับแล้วพื้นจะมีระดับสูงขึ้นประมาณ 2-3 ซม. หากพื้นที่ไม่พอก็อาจจะต้องตัดความยาวของประตูออกตามขนาดที่เหมาะสม
  5. ตรวจเช็คว่ากระเบื้องเดิมมีการปูด้วยวิธีมาตรฐานหรือไม่ ตรวจสอบโดยการเคาะดูความแน่นของซีเมนต์ใต้แผ่นกระเบื้อง ถ้ามีเสียงโปร่งโดยเฉพาะบริเวณขอบกระเบื้อง ไม่ควรปูทับ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหารั่วซึม หรือเกิดการแตกร้าวของกระเบื้องตามมาได้

 

วัสดุอุปกรณ์สำหรับปูกระเบื้องใหม่

  1. กระเบื้องใหม่
  2. ค้อนยาง
  3. เกรียงหวี
  4. กาวซีเมนต์สำหรับปูกระเบื้องทับบนพื้นกระเบื้อง
  5. กาวยาแนว
  6. ฟองน้ำ

อุปกรณ์ปูกระเบื้อง

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่า

         1. เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวเดิมอีกครั้ง ให้แน่ใจว่าไม่มีฝุ่นผง คราบไขมัน และพื้นเดิมต้องแห้ง ไม่เปียกชื้น

 

ขั้นตอนปูกระบื้องใหม่

 

         2. ผสมปูนกาวกับน้ำในอัตราส่วนตามข้อมูลที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ กวนให้เข้ากันเป็นเนื้อครีมเหนียว และพักปูนไว้ประมาณ 15 นาที ให้ปูนกับน้ำเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้องใหม่

 

         3. ใช้เกรียงหวีปาดปูนลงบนพื้นกระเบื้องเดิม เกลี่ยปูนให้เรียบเป็นเส้นตรง

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

 

         4. ปาดปูนลงบนหลังแผ่นกระเบื้อง ใช้เกรียงหวีเกลี่ยให้ทั่ว เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

 

         5. ค่อย ๆ ปูกระเบื้องลงบนพื้นกระเบื้องเดิมทีละแผ่น และเว้นระยะห่างระหว่างกระเบื้องประมาณ 2-3 มม. เป็นร่องยาแนวกระเบื้อง ซึ่งข้อดีของการมีร่องยาแนวนั้นจะช่วยไม่ให้กระเบื้องดันกัน ในกรณีที่มีการหดหรือขยายตัวของปูนกาว

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

 

         6. ใช้ค้อนยางเคาะที่แผ่นกระเบื้องใหม่เบา ๆ เพื่อเพิ่มการยึดเกาะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และปล่อยให้ซีเมนต์กาวแห้งเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

 

         7. ทำการยาแนวกระเบื้อง ด้วยกาวยาแนวตามปกติ

 

ขั้นตอนการปูกระเบื้อง

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า 

         ข้อดี : ประหยัดค่าแรง ช่วยร่นระยะเวลาในการดำเนินการ เพราะไม่ต้องทำการรื้อกระเบื้องเก่าออก สะดวก สะบาย ไม่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย และเสียงรบกวน

         ข้อเสีย : อาจเกิดช่องหว่างระหว่างพื้นกระเบื้องเดิม และแผ่นกระเบื้องใหม่ ซึ่งหากเป็นกระเบื้องที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นโดยตรง เช่น พื้นกระเบื้องในห้องน้ำ อาจทำให้เกิดน้ำขังใต้กระเบื้องได้ เพราะฉะนั้นละเอียด รอบคอบในการปูกระเบื้องใหม่ และเช็คดูไม่ให้มีช่องว่างใต้แผ่นกรเบื้อง

         นอกจากนี้การปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่าจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้าง แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ โดยเฉพาะบ้านเก่าที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป หากต้องการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อคำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างก่อนทำการปูกระเบื้องครับ

 

ปูกระเบื้องใหม่ ทับกระเบื้องเก่า

 

         สิ่งที่พี่อิฐอยากแนะนำเพิ่มเติม คือ ไม่ควรใช้ปูนธรรมดาในการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่าเด็ดขาด จะต้องใช้กาวซีเมนต์สำหรับปูทับกระเบื้องเก่าเท่านั้น หากใช้ปูนซีเมนต์ หรือปูนกาวธรรมดา การยึดเกาะกับผิวกระเบื้องเดิมจะไม่ดีเท่าปูนกาวที่ผลิตมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ

 

ขอแนะนำ สินค้าใหม่!

กระเบื้องสีใหม่

กระเบื้องดินเผา สีพิเศษ มีทั้งสีพวงแสด สีมันปู และสีกลีบบัว
ชมรายะเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิก!

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : รายการช่างประจำบ้าน EP.61

 

 

 

Share this post