ทำไมต้องใช้อิฐทนไฟเพื่อสร้างทางหนีไฟ อิฐทนไฟ เป็นวัสดุที่ก่อสร้างที่ทนไฟและมีอัตราการทนไฟได้ถึง 2-3 ชั่วโมง อิฐทนไฟ ไม่เป็นเชื้อเพลิง และยังป้องกันไฟได้ดี ในการออกแบบโครงสร้างทางหนีไฟและบันไดหนีไฟ ต้องคำนึงถึงวัสดุที่ใช้เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกเป็นอันดับแรกในการใช้งาน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามพี่อิฐมาดูในบทความนี้ได้เลยครับ
สำหรับอาคาร รวมถึงตึกแถว หรือบ้านแฝด หากโครงสร้างมีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป หรืออาคาร 3 ชั้นที่มีดาดฟ้าพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร ตาม พรบ.การควบคุมอาคาร 2522 กฎกระทรวง ฉบับ 55 ได้มีการกำหนดว่าต้องทำ “ทางหนีไฟ” และต้องไม่วางสิ่งกีดขวางทางเดินไปยังบันได โดยความลาดชันของบันไดต้องไม่เกิน 60 องศา เว้นตึกแถวสูงไม่เกิน 4 ชั้น และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
อิฐทนไฟถือว่าเป็นวัสดุหลักที่นำไปใช้งานกับทางหนีไฟ เช่น ประตูหนีไฟ ผนัง และ บันได เพราะสามารถทนความร้อนอย่างน้อยได้ถึง 1,300 °C และมีความหนาแน่นสูง รับน้ำหนักได้ดี ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี และอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน อิฐทนไฟเป็นอีกตัวเลือกที่นิยมใช้กัน โดยแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อิฐทนไฟ มีส่วนประกอบอลูมิน่า ตั้งแต่ 30% – 43% ทนต่อการขัดสีและการกัดกร่อนจากสแลก น้ำโลหะได้เป็นอย่างดี ขนาดของอิฐทนไฟมีสัดส่วนที่ต่างกันออกไปเพื่อความสะดวกในการใช้งาน เช่น
1. อิฐทนไฟ SK30 SA50 อิฐกลีบส้ม ขนาด 5X11.5X23 ซม. ทนไฟ 1,300 องศา
2. อิฐทนไฟ SK30 SA64 อิฐกลีบส้ม ขนาด 6.4X11.5X23 ซม. ทนไฟ 1,300 องศา
3. อิฐทนไฟ SK30 SA70 อิฐทรงกลีบส้ม ขนาด 7X11.5X23 ซม. ทนไฟ 1,300 องศา
4. อิฐทนไฟ SK30 ST64 อิฐทรงตรง ขนาด 6.4X11.5X23 ซม. ทนไฟ 1,300 องศา
5.อิฐทนไฟ SK30 ST76 อิฐทรงตรง ขนาด 7.6×11.5×23 ซม. ทนไฟ 1,300 องศา ดูอิฐทนไฟเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ข้อควรระวัง อิฐทนไฟจำเป็นต้องใช้ควบคู่กับ ปูนทนไฟ หากมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้โครงสร้างพังทลาย การเลือกใช้งานปูนทนไฟได้ถูกต้องและเหมาะสม ต้องดูคุณสมบัติของอิฐทนไฟที่ใช้งานร่วมด้วย เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ โดยปูนทนไฟมีหน้าที่เชื่อมประสานอิฐทนไฟ และป้องกันการแทรกซึมของก๊าซ หรือของเหลวที่จะซึมออกจากรอยต่อระหว่างอิฐทนไฟ ช่วยให้โครงสร้างคงรูปร่าง มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิสูง ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
-
ปูนทนไฟ HM