Search
อิฐบล็อก มอก.57-2533 และ มอก.58-2533 ต่างกันอย่างไร?

อิฐบล็อก มอก.57-2533 และ มอก.58-2533 แตกต่างกันอย่างไร?

         รู้หรือไม่ อิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อก ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ก็มี มอก. ด้วย ซึ่งข้อดีของอิฐบล็อก มอก. คือแข็งแกร่ง ทนทานกว่าอิฐบล็อกทั่วไป และมีมาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจ เพราะผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว ว่าแต่อิฐบล็อก มอก.นั้น มีกี่ประเภทกัน แล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้พี่อิฐได้รวบรวมคำตอบไว้แล้ว ตามมาดูกันเลย

  • ประเภทของอิฐบล็อก มอก.
  • อิฐบล็อก มอก.57-2533 คืออะไร?
  • อิฐบล็อก มอก.58-2533 คืออะไร?

ประเภทของอิฐบล็อก มอก.

         มอก. ของอิฐบล็อก ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดนั้น มีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งแยกตามคุณสมบัติดังนี้ อิฐบล็อก มอก.57-2533 (คอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก) และอิฐบล็อก มอก.58-2533 (คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก) อิฐบล็อก มอก.59-2516 (อิฐคอนกรีต) และ อิฐบล็อก มอก.60-2516 (คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก) แต่วันนี้พี่อิฐจะขอแนะนำสำหรับอิฐบล็อก มอก.57-2533 และ อิฐบล็อก มอก.58-2533 ที่มีรูปร่าง ลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติที่ต่างกัน

อิฐบล็อก มอก.57-2533 คืออะไร? 

         คือ คอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก ลักษณะทั่วไปต้องปราศจากรอยแตกร้าว หรือมีร่องรอยชำรุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการก่อ เป็นเหตุให้สิ่งก่อสร้างเกิดการเสียหาย ไม่แข็งแรง และต้องมีผิวสัมผัสหยาบพอที่จะสามารถยึดจับปูนก่อ ฉาบ และปูนแต่งได้อย่างดี นอกจากนี้การที่อิฐบล็อก มอก.57-2533 สามารถมีรอยบิ่นเล็กน้อยถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่รอยบิ่นจะต้องมีความยาวไม่เกิน 25 มิลลิเมตร

         คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังต่อไปนี้
         ชั้นคุณภาพ ก ใช้สำหรับก่อกำแพงภายนอก โดยไม่มีการฉาบปกปิดผิวแต่อย่างใด ซึ่งต้องไม่เกิดความเสียหาย แม้ต้องเผชิญกับความชื้นจากใต้ดิน หรือน้ำฝน
         ชั้นคุณภาพ ข ใช้สำหรับก่อกำแพงภายนอก โดยมีการฉาบ หรือทาสีเคลือบ ปกปิดผิว
         ชั้นคุณภาพ ค ใช้สำหรับก่อกำแพงภายใน หรือภายนอก เหนือระดับดิน โดยที่มีการปกปิดผิว ป้องกันความเสียหายเนื่องจากดินฝ้าอากาศ

        ขนาดของอิฐบล็อก มอก.57-2533 มีหลากหลายขนาด ตามตารางด้านล่าง และทุกขนาดสามารถคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร วัดได้จากเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดเป็นหน่วยมิลลิเมตร

ขนาดของอิฐบล็อก มอก.57-2533
หนา x สูง x ยาว (มิลลิเมตร)
ตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด

90 x 190 x 190
140 x 190 x 190
190 x 190 x 190
90 x 190 x 290
140 x 190 x 290
190 x 190 x 290
90 x 190 x 390
140 x 190 x 390
190 x 190 x 390

สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมายเหตุ
ขนาดคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักที่กำหนด เป็นขนาดที่ออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามระบบการประสานทางพิกัดในงานก่อสร้างอาคาร

        ความหนาของเปลือก และผนังกั้นโพรงต้องเป็นไปตามที่กำหนด และมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถดูได้ตามตารางด้านล่าง

เปลือก และผนังกั้นโพรง อิฐบล็อก มอก.57-2533
เปลือกของอิฐบล็อก มอก.57-2533 ต้องมีความหนาไม่ต่ำว่า 19 มม.
ความหนาของเปลือก และผนังกั้นโพรง อิฐบล็อก มอก. 57-2533
ความหนาระบุ
(ของก้อน)
ความหนาของเปลือกต่ำสุด ความหนาของผนังกั้นโพรง
ผนังกั้นโพรงต่ำสุด ความหนาของผนังกั้นโพรง
เทียบเท่าต่ำสุด
ต่อความยาว 1 เมตร
90 มม. 19 มม. 19 มม. 135 มม.
140 มม. 25 มม. 25 มม. 185 มม.
190 มม. 31 มม. 25 มม. 185มม.
สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ค่าความต้านแรงอัด อิฐบล็อก มอก. 57-2533
ชั้นคุณภาพ เฉลี่ยจากพื้นที่รวม เฉลี่ยจากพื้นที่สุทธิ
เฉลี่ยจากคอนกรีตบล็อก
(5 ก้อน)
คอนกรีตบล็อกแต่ละก้อน เฉลี่ยจากคอนกรีตบล็อก
(5 ก้อน)
คอนกรีตบล็อกแต่ละก้อน
7 5.5 14 11
7 5.5
5 4

สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ค่าการดูดกลืนน้ำ อิฐบล็อก มอก. 57-2533
(กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

น้ำหนักคอนกรีตเมื่ออบแห้ง กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ชั้นคุณภาพ น้อยกว่า 1,680 1,681 และ 1,760 1,761 และ 1,840 1,841 และ 1,920 1,921 และ 2,000 มากกว่า 2,000
240 224 208 192 176 160
288 272 256 240 224 208

สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

อิฐบล็อก มอก.58-2533 คืออะไร?

        คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก ลักษณะทั่วไปตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดนั้น มีความคล้ายคลึงกับลักษณะของคอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก คือต้องปราศจากรอยแตกร้าว หรือมีร่องรอยชำรุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการก่อ เป็นเหตุให้สิ่งก่อสร้างเกิดการเสียหาย ไม่แข็งแรง และต้องมีผิวสัมผัสหยาบพอที่จะสามารถยึดจับปูนก่อ ฉาบ และปูนแต่งได้อย่างดี ซึ่งสามารถมีรอยบิ่นเล็กน้อยได้ แต่ต้องเป็นรอยที่มีความยาวไม่เกิน 25 มิลลิเมตร

        ขนาดของอิฐบล็อก มอก.58-2533 มีหลากหลายขนาด ตามตารางด้านล่าง ทุกขนาดสามารถคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และความหนาของเปลือกต้องไม่น้อยกว่า 12 มิลลิเมตร วัดได้จากเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดเป็นหน่วยมิลลิเมตร

เปลือก และผนังกั้นโพรง อิฐบล็อก มอก.58-2533
ความหนาของเปลือก และผนังกั้นโพรง อิฐบล็อก มอก.58-2533

ขนาดของอิฐบล็อก มอก.58-2533
หนา x สูง x ยาว (มิลลิเมตร)

70 x 190 x 190
90 x 190 x 190
140 x 190 x 190
190 x 190 x 190
70 x 190 x 290
90 x 190 x 290
140 x 190 x 290
190 x 190 x 290
70 x 190 x 390
90 x 190 x 390
140 x 190 x 390
190 x 190 x 390

สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

หมายเหตุ ขนาดคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักที่กำหนด เป็นขนาดที่ออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามระบบการประสานทางพิกัดในงานก่อสร้างอาคาร

อิฐบล็อก มอก. ที่แนะนำ

        คุณสามารถขอเอกสาร มอก. จากผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายเป็นการการันตี ว่าอิฐบล็อกนี้ได้รับเครื่องหมายมอก.จริง ๆ เพื่อให้คุณได้อิฐบล็อกที่มีคุณภาพ มาตรฐานตามที่คุณต้องการ และนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารมอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

Share this post