“อิฐ” ส่วนประกอบหลักในการสร้างบ้าน ตึก อาคาร หรือแม้แต่รั้วกั้นอานาเขต ซึ่งปัจจุบันมีอิฐให้เลือกใช้หลากหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ “อิฐบล็อก” วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี แถมยังเป็นที่นิยมในวงการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นเพราะอะไรนั้น มาทำความรู้จักอิฐบล็อกกันให้มากกว่านี้ดีกว่า กับ “ครบเครื่องเรื่องอิฐบล็อก” ที่จะรวมทุกเรื่องราวของอิฐบล็อกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อดี ข้อเสีย การใช้เลือกใช้งาน รวมถึงเทคนิคการก่อสร้าง ครบ จบ ในบทความนี้เลย
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ
อิฐบล็อกคืออะไร
อิฐก่อสร้างสีเทา ขนาดใหญ่ และหนา มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งก้อน ผลิตจากคอนกรีต ผสมกับทราย และน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม นำไปอัดขึ้นรูปในเครื่องจักรทันสมัยด้วยแรงสั่นสะเทือนสูง ทำให้อิฐบล็อกมีความหนาแน่น แข็งแกร่ง พร้อมนำไปใช้งาน
อิฐบล็อกก่อ มีทั้งแบบธรรมดา และแบบมอก. ซึ่งทั้ง 2 ประเภท จะมีขนาดที่เท่ากัน คือ อิฐบล็อกหนา 7 ซม. อิฐบล็อกหนา 9 ซม. อิฐบล็อกหนา 14 ซม. และอิฐบล็อกหนา 19 ซม. โดยมีความกว้าง 19 ซม. และความยาว 39 ซม. เท่า ๆ กัน แตกต่างกันที่ความหนาแน่น แข็งแกร่งของตัวอิฐ และมาตรฐานในการผลิต
อิฐบล็อก มอก. มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ อิฐบล็อก มอก.57-2533 ประเภทคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก และ อิฐบล็อก มอก. 58-2533 ประเภทคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก จะมีความหนาที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด เนื้อคอนกรีตหนาแน่นสูง แข็งแกร่งเป็นพิเศษ รับน้ำหนักได้ และมีค่าดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐบล็อกธรรมดา
| บทความที่เกี่ยวข้อง :
การเลือกใช้งานอิฐบล็อก
อิฐบล็อกมีหลากหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นคุณควรเลือกอิฐบล็อกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด
อิฐบล็อกหนา 7 ซม. อิฐบล็อกที่ขนาดเล็กที่สุด และมีผนังกั้นโพรงบางที่สุด จึงเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมาก ไม่ต้องรับน้ำหนัก หรือกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอก เช่น ผนังกั้นห้องภายในบ้าน อาคารต่าง ๆ
อิฐบล็อกหนา 9 ซม. มีผนังกั้นโพรงที่หนาขึ้น และมีความแข็งแรงมาก เหมาะสำหรับก่อผนังโกดังเก็บสินค้า ผนังโรงงานขนาดเล็ก รั้ว กำแพง ซึ่งอิฐบล็อกหนา 9 ซม. เป็นขนาดที่นิยมที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องฉาบผนัง หรือฉาบเพียงข้างเดียว ก็จะได้ผนังที่มีความหนาเท่ากับ หรือใกล้เคียงกับขนาดของวงกบประตู หน้าต่าง ที่มีความหนาอยู่ที่ 10 ซม.
อิฐบล็อกหนา 14 ซม. มีความหนาของผนังกั้นโพรงที่เหมาะกับการก่อเป็นผนังโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสินค้าขนาดใหญ่ อาคารที่ต้องการความแข็งแกร่ง และทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการทนไฟมากขึ้น ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้
อิฐบล็อกหนา 19 ซม. อิฐบล็อกที่มีผนังกั้นโพรงหนาที่สุด แน่นอนว่าจะต้องแข็งแกร่งที่สุดเช่นกัน ซึ่งเหมาะกับก่อก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักได้ และทนทานต่อแรงกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น การก่อผนังบ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ใช้เสา โรงงานอุตสาหกรรม รั้วที่อยู่ใกล้กับถนน ซึ่งมีการสัญจรผ่านไปมาเป็นประจำ
สำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องการประหยัดงบประมาณ พี่อิฐก็ขอแนะนำให้เลือกใช้อิฐบล็อก มอก. นะครับ ซึ่งมีขนาดเท่ากับอิฐบล็อกทั่วไปเลย แต่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และมีความแข็งแกร่งมากกว่า
ข้อดีของอิฐบล็อก
- ช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง งานเสร็จเร็ว เนื่องจากอิฐบล็อกนั้นมีขนาดใหญ่
- ช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้าง แน่นอนว่าเพราะอิฐบล็อกมีขนาดที่ใหญ่กว่าอิฐแดง อิฐมอญ จึงใช้จำนวนน้อย และเมื่อการก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยลดค่าแรงของช่างลงไปได้ด้วย
- พบปัญหาเรื่องการก่อฉาบน้อย
- หาช่างได้ง่าย เพราะเป็นการก่ออิฐที่ช่างทั่วไปถนัด
- หาซื้ออิฐบล็อกได้ง่าย เพราะใช้เครื่องจักรในการผลิต จึงสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก
ข้อเสียของอิฐบล็อก
- ความแข็งแกร่ง และความสามารถในการรับแรงกดอยู่ในระดับน้อย ถึงปานกลาง เมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่น ๆ อย่างอิฐแดง
- กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้น้อย เพราะรูพรุนเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งก้อน แต่ในกรณีที่ไม่ได้นำไปก่อผนังที่พักอาศัย ที่ต้องการการเป็นส่วนตัว ไม่มีเสียงรบกวน ข้อเสียตรงนี้ก็ไม่มีปัญหาครับ
- มีโอกาศรั่วซึมได้สูง หากไม่มีการฉาบปูนที่ได้มาตรฐาน หรือการนำอิฐบล็อกไปก่อโดยไม่ทำการฉาบปกปิดภายนอก
- ตอก เจาะ แขวนได้ยาก เพราะด้านในค่อนข้างเปราะบาง และไม่เหมาะกับงานเดินท่อสายไฟ ท่อประปาในผนัง
2. เตรียมอิฐบล็อก ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดเรียบร้อย ด้วยการปัดฝุ่น สิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนผิวหน้า หรือบ่มอิฐด้วยการราดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ จะช่วยให้ตัวอิฐบล็อกยึดจับปูนฉาบได้ดี และไม่ดูดน้ำในปูนก่อ ฉาบ แต่ห้ามนำอิฐบล็อกไปแช่น้ำเด็ดขาด เพราะอิฐบล็อกจะอมน้ำ ทำให้มีน้ำหนักมาก และเมื่อนำไปก่อ ก็จะคลายน้ำออกมา ทำให้ปูนก่อ ฉาบ ไม่แห้ง หรือเกิดการเหลว ไม่ยึดเกาะ จนเกิดผนังล้มได้
3. ผสมปูนก่อ ในอัตราที่เหมาะสม โดยใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 3 ส่วน และค่อยๆ ใส่น้ำลงไปทีละนิด ป้องกันไม่ให้เนื้อปูนเหลวเกินไป ขณะใช้จอบคนผสมให้เข้ากันในกระบะผสมปูน หรือใช้เกรียงใบโพธิ์ตักคนผสมให้เข้ากันในถังปูน ซึ่งภาชนะผสมปูนจะเล็ก หรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับปริมาณปูนที่ต้องการใช้งาน ปูนที่ได้ที่พร้อมใช้งานแล้ว เมื่อตักปูนขึ้นมาจะต้องติดเป็นก้อน ไม่เหลว หรือไหลออก หากเหลวจะต้องทำการผสมใหม่ ซึ่งดีกว่าการผสมปูนเติมลงไป
4. หลังจากทำความสะอาดอิฐบล็อก และเตรียมปูนเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มก่อได้เลย โดยเลือกก่อจากมุมชิดติดเสาก่อน ซึ่งเสาต้องมีการผูดเหล็กหนวดกุ้งเอาไว้ เพื่อให้อิฐบล็อกยึดกับสิ่งที่มั่นคง และสามารถขึงเส้นเอ็นจากมุมหนึ่งไปอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้แนวของผนังได้แนวตรง และแนวดิ่ง ป้องกันผนังคดเคี้ยว ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการฉาบตามมาภายหลัง
5. วิธีก่อชั้นแรก ใช้เกรียงใบโพธิ์โปะปูนลงไปบนพื้นให้พอดีกับความยาวของอิฐบล็อก แล้วปาดให้เป็นเส้นตรงตั้งสันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม โดยมีความหนาอยู่ที่ 1-2 ซม. ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมกับการยึดเกาะของอิฐบล็อก จากนั้นวางอิฐบล็อกในด้านทึบกดลงไปกับตัวปูนที่ปาดรอไว้ ใช้ด้ามเกรียงเคาะให้แน่น และได้ระดับ จากนั้นปาดปูนส่วนเกินให้เรียบร้อย และเริ่มก่อต่อด้วยการปาดปูนลงไปด้านข้างของตัวอิฐบล็อกที่มีลักษณะเป็นร่อง ปาดให้เต็มและเกินออกมาให้เป็นสันรูปทรงสามเหลี่ยม ด้านล่างก็ทำเหมือนกันกับก้อนแรก แล้วกดอิฐบล็อกก้อนที่สองลงไป ปูนที่เกินออกมาจะเชื่อมประสานตัวอิฐได้อย่างพอดี
ข้อแนะนำ : อย่าหงายด้านที่เป็นช่องขึ้นด้านบน จะทำให้ปูนไหลลงไปด้านในช่อง เกิดการสิ้นเปลืองปูน และเพิ่มน้ำหนักให้กับผนัง เนื่องจากมีปูนอัดแน่นอยู่ด้านใน
8. ในกรณีที่ก่อผนังอิฐบล็อกในตัวบ้าน อาคารที่มีมากกว่า 1 ชั้น เมื่อก่อไปจนเกือบถึงคานชั้นบน ควรหยุดก่อก่อน และเว้นช่องว่างระหว่างผนังกับคานไว้ประมาณ 10-20 ซม. หรือเท่ากับความสูงของอิฐบล็อก 1 ก้อน รอให้ปูนก่อยุบตัวคงที่ประมาณ 3-5 วัน จึงใช้อิฐแดงก่อในรูปแบบเอียง 45 องศา หรือที่เรียกว่าการยัดหัวปลาสร้อย เพื่อป้องกันการแอ่นตัวของท้องคานลงมากดทับผนัง จนเกิดการแตกร้าว ซึ่งการยัดหัวปลาสร้อยด้วยอิฐแดงนั้นแข็งแรงกว่าการใช้อิฐบล็อก
9. เมื่อก่อผนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว และรอให้ปูนแข็งตัวดี หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ควรบ่มผนังโดยรดน้ำบนผนังให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องจนครบ 1 สัปดาห์ หากผนังอยู่ในจุดที่มีแสงแดดจัดกระทบตลอดทั้งวัน อาจเพิ่มการรดน้ำผนังเป็นวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ปูนไม่สูญเสียน้ำเร็วเกินไป ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวบนผนัง
มาถึงตรงนี้ก็พอจะรู้กันแล้วใช่มั้ยครับว่าควรเลือกใช้อิฐบล็อกแบบไหนให้เหมาะสมกับงานของคุณดี แต่ยังไม่หมดแค่นี้ พี่อิฐยังมีสาระดี ๆ เกี่ยวกับอิฐบล็อก มาฝากทุกคนอีก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามกันต่อที่ EP หน้านะครับ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : การศึกษาการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคาร
กรณีศึกษา วัสดุไม้ประกอบพลาสติก