อิฐแดง มอก. ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แล้วได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นอิฐแดงที่ได้รับอนุญาตเครื่องหมาย มอก. จึงเป็นอิฐที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน แข็งแกร่ง ทนทาน สามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจในคุณภาพ
ประเภทของอิฐ มอก. ที่ใช้ในการก่อฉาบ แบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. มอก. 77-2545 หรือ อิฐก่อสร้างสามัญ เช่น อิฐตันมอก.
2. มอก. 153-2540 หรือ อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก เช่น อิฐแดง มอก. 4 ช่อง , อิฐแดง มอก. 2 รู และ อิฐแดง มอก. 3 รู
1. อิฐ มอก.77-2545 หรือ อิฐก่อสร้างสามัญ
ลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมตัน ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น งานก่อผนังหรือกำแพง และต้องมีการฉาบปูน ลักษณะภายนอกทั่วไปต้องแข็งแรง ไม่มีรอยแตกร้าว หรือส่วนเสียหายอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการก่อฉาบ ต้องมีผิวร่อง ผิวรอยหวี หรือผิวหยาบ ในด้านที่ก่อฉาบ ขนาดของอิฐก่อสร้างสามัญแต่ละมิติ จะมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินเกณฑ์ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ตามตารางด้านด่าง ซึ่งการทดสอบต้องทำโดยการวัดด้วยเครื่องมือที่วัดได้ละเอียดถึง 0.5 มิลลิเมตร
รูปภาพ : อิฐ มอก.77-2545 ที่มา : บริษัท อิฐแดง2009 จำกัด
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาด อิฐแดง มอก. 77-2545
|
|
ขนาดอิฐ (มิลลิเมตร) | ความคลาดเคลื่อน (มิลลิเมตร) |
40 | ± 2 |
65 – 90 | ± 3 |
140 – 190 | ± 5 |
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สืบค้นวันที่ 05/01/2563
และต้องมีการทดสอบคุณภาพของอิฐอย่างสม่ำเสมอ หรืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ประกอบไปด้วยการทดสอบการต้านแรงอัด และ การทดสอบการดูดกลืนน้ำ จากสถาบันทดสอบที่เชื่อถือได้ ซึ่งผลต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
ค่าต้านแรงอัด และ การดูดกลืนน้ำของอิฐแดง มอก.77-2545
|
||||
ชั้นคุณภาพ | ค่าต้านแรงอัดต่ำสุด MPa เฉลี่ย 5 ก้อน |
ค่าต้านแรงอัดต่ำสุดMPa แต่ละก้อน |
ค่าดูดกลืนน้ำสูงสุด % เฉลี่ย 5 ก้อน |
ค่าดูดกลืนน้ำสูงสุด % แต่ละก้อน |
ก | 21.0 MPa | 17.0 MPa | 17.0% | 20.0% |
ข | 17.0 MPa | 15.0 MPa | 22.0% | 25.0% |
ค | 10.0 MPa | 9.0 MPa | ไม่กำหนด | ไม่กำหนด |
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สืบค้นวันที่ 05/01/2563
2. อิฐ มอก.153-2540 หรือ อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก
อิฐที่มีลักษณะเป็นก้อนวัสดุดินเผา ทำจากดินเหนียวปนทราย ดินทนไฟ หรือส่วนผสมของวัตถุเหล่านี้ มีรู หรือโพรง ใช้สำหรับก่อผนัง กำแพง ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักใด ๆ นอกจากน้ำหนักตัวเอง โดยแบ่งประเภทความคงทนถาวรออกเป็น 3 ชั้น คุณภาพ คือ
- ชั้นคุณภาพ ก เป็นอิฐที่มีความทนทานสูงอย่างสม่ำเสมอต่อการผุกร่อน เนื่องจากลม ฟ้า อากาศ
- ชั้นคุณภาพ ข เป็นอิฐที่มีความทนทานปานกลาง และไม่ค่อยสม่ำเสมอต่อการผุกร่อนเนื่องจากลม ฟ้า อากาศ
- ชั้นคุณภาพ ค เป็นอิฐสำหรับใช้ภายใน ไม่เหมาะกับการเผยผึ่งต่อลม ฟ้า อากาศ
ขนาดของอิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก จะมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินเกณฑ์ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ตามตารางด้านด่าง ซึ่งการทดสอบต้องทำโดยการวัดด้วยเครื่องมือที่วัดได้ละเอียดถึง 0.5 มิลลิเมตร
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาด อิฐแดง มอก. 153-2545
|
||
ขนาดอิฐ (มิลลิเมตร) | ความคลาดเคลื่อน (มิลลิเมตร) | |
ประเภทที่ 1 | ประเภทที่ 2 | |
40 – 90 | ± 2 | ± 3 |
110 – 120 | ± 3 | ± 5 |
160 – 190 | ± 4 | ± 6 |
250 | ± 6 | ± 8 |
ประเภทที่ 1 คือ อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนักที่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดน้อยที่สุด
และ ประเภทที่ 2 คือ อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนักที่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดมากกว่าประเภทที่ 1
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สืบค้นวันที่ 05/01/2563
สีของอิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนักจะเปลี่ยนแปรไปตามชนิดของดิน และอุณหภูมิที่เผา สีจึงไม่ใช่จุดบ่งชี้คุณภาพที่แน่นอนของอิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก ซึ่งสามารถตรวจสอบคุณภาพได้จากการวัดค่าการดูดกลืนน้ำ โดยต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด
ค่าการดูดกลืนน้ำของอิฐแดง มอก.153-2540ตามที่สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกําหนด |
||
ชั้นคุณภาพ | ค่าดูดกลืนน้ำสูงสุด % | |
เฉลี่ย 5 ก้อน | แต่ละก้อน | |
ก | 10 % | 12 % |
ข | 14 % | 16 % |
ค | 20 % | 24 % |
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สืบค้นวันที่ 05/01/2563
นอกจากนี้ อิฐจากมอก.ทั้ง 2 ประเภท จะต้องมีเครื่องหมายฉลาก ที่บ่งบอกประเภท ชั้นคุณภาพ หรือ ชื่อโรงงาน เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน อยู่ด้านข้างทุกด้านของตัวอิฐ อย่างน้อย 1 ก้อน จากในกอง ให้เห็นชัดเจน
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ที่ : tisi.go.th