การก่อผนังทนไฟ ไม่ว่าจะเป็นผนังเตาเผาต่าง ๆ เช่น เตาเผาขยะ เตาพิซซ่า เมรุ เตาหลอมโลหะ หรือผนังบริเวณบันไดหนีไฟ และผนังโกดังสินค้า จำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุช่วยประสานอย่างปูนทนไฟ เพื่อให้ผนังทนไฟมีประสิทธิภาพที่ดี ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าปูนทนไฟแต่ละชนิดเหมาะที่จะใช้กับงานแบบไหน ในบทความนี้พี่อิฐมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับปูนทนไฟ ที่จะทำให้คุณเลือกใช้ปูนทนไฟให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับงานของคุณ
- ปูนทนไฟ คืออะไร
- ประเภทของปูนทนไฟ คุณสมบัติ และการนำไปใช้งาน
- วิธีใช้งานปูนทนไฟ และการเก็บรักษา
- บทความที่เกี่ยวข้อง : อิฐทนไฟ ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
ปูนทนไฟ คืออะไร?
วัสดุทนไฟประเภทหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เนื้อเนียนละเอียดคล้ายปูนซีเมนต์ทั่วไป มีองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่เป็น Alumino Silicate และ Magnesium oxide ทำหน้าที่เชื่อมประสานอิฐทนไฟ และป้องกันการแทรกซึมของก๊าซ หรือของเหลวที่จะซึมออกจากรอยต่อระหว่างอิฐทนไฟ ช่วยให้โครงสร้างคงรูปร่าง มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิสูง ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อน จึงจะแข็งตัว Heat Setting Mortar หรือ ปูนทนไฟ HM และปูนทนไฟที่สามารถแข็งตัวได้ในอุณหภูมิห้อง Air Setting Mortar หรือ ปูนทนไฟ AM
ประเภทของปูนทนไฟ
1.ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อนจึงจะแข็งตัว (HM)
ปูนทนไฟ Heat Setting Mortar หรือ ปูนทนไฟ HM เป็นปูนทนไฟชนิดผงแห้ง (Dry Type) ซึ่งการใช้งานต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ข้างถุงผลิตภัณฑ์ ปูนทนไฟชนิดนี้จะแข็งตัวสมบูรณ์เมื่อได้รับความร้อนสูงเกินกว่า 1,000 องศาเซลเซียล เมื่อก่อเสร็จจึงควรทำการอุ่นเตา เพื่อทำให้ปูนแข็งตัว และลดการแตกร้าวของปูน ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ช่วงที่ 1 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียล/ชั่วโมง จนอุณหภูมิสูงถึง 560 องศาเซลเซียส
ช่วงที่ 2 รักษาอุณภูมิที่ 560 องศาเซลเซียล ต่อเป็นเวลา 5 ชั่วโมง
ช่วงที่ 3 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียส/ชั่วโมง จนถึงอุณหภูมิใช้งาน หรืออุณหภูมิสูงสุดที่ปูนทนไฟสามารถทนทานได้
สามารถทนอุณหภูมิสูงได้ตั้งแต่ 1,500-1,725 องศาเซลเซียส เหมาะกับการนำไปใช้ก่อเตาเผาต่าง ๆ เช่น เตาพิซซ่า เตาเมรุ เตาหลอมโลหะ เตาเผาขยะ ที่ใช้อุณหภูมิไม่เกิน 1,725 องศาเซลเซียส การเลือกใช้งานให้เหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอิฐทนไฟที่ใช้ร่วมด้วย ตัวอย่างปูนทนไฟ HM เช่น ปูนทนไฟ 30 HM ปูนทนไฟ 43 HM และปูนทนไฟ 70 HM
คุณสมบัติของปูนทนไฟ HM |
|||
ชนิด | %อลูมินา | การทนไฟ | การใช้งานร่วม |
ปูนทนไฟ HM 30 | 30.5% | 1,500 °C | อิฐทนไฟ SK 30 อิฐทนไฟ SK 35 |
ปูนทนไฟ HM 43 | 44% | 1,600 °C | อิฐทนไฟ SK 34 |
ปูนทนไฟ HM 70 | 68.5% | 1,650 °C | อิฐทนไฟ KB 50 อิฐทนไฟ KB 60 อิฐทนไฟ KB 70 |
ปูนทนไฟ HM 90 | 89% | 1,725 °C | อิฐทนไฟ BX 80 อิฐทนไฟ B 80 |
2.ปูนทนไฟที่สามารถแข็งตัวได้ในอุณหภูมิห้อง (AM)
ปูนทนไฟ Air Setting Mortar หรือปูนทนไฟ AM มีทั้งชนิดผงแห้ง (Dry Type) ซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำมาใช้งาน และชนิดเปียก (Wet Type) ที่ผสมเสร็จพร้อมใช้งานได้ทันที ปูนทนไฟชนิดนี้จะสามารถแข็งตัวได้ในอุณหภูมิห้อง จึงเหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนัก หรือมีการเคลื่อนไหว เช่น หม้อเผาปูนซีเมนต์ รถเตาเผาปูน ผนังโกดังสินค้า ผนังบันได้หนีไฟ หรืองานที่ใช้อุณหภูมิไม่เกิน 1,000 องศาเซลเซียส เป็นต้น ซี่งปูนทนไฟชนิดนี้สามารถทนไฟได้สูงถึง 1,500-1,650 องศาเซลเซียส ตัวอย่างปูนทนไฟ AM เช่น ปูนทนไฟ 30 AM ปูนทนไฟ 43 AM(W) และปูนทนไฟ 43 AM(D)
คุณสมบัติของปูนทนไฟ AM |
|||
ชนิด | %อลูมินา | การทนไฟ | การใช้งานร่วม |
ปูนทนไฟ AM 30 | 38% | 1,500 °C | อิฐทนไฟ SK 30 อิฐทนไฟ SK 35 |
ปูนทนไฟ AM 43 | 44% | 1,600 °C | อิฐทนไฟ SK 34 |
ปูนทนไฟ AM 70 | 68.5% | 1,650 °C | อิฐทนไฟ KB 50 อิฐทนไฟ KB 60 อิฐทนไฟ KB 70 |
วิธีใช้งานปูนทนไฟ และการเก็บรักษา
การเตรียมปูนทนไฟชนิดแห้ง
- ผสมปูนทนไฟ กับน้ำ ในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งสามารถดูได้จากข้างถุงของผลิตภัณฑ์
- โรยผงปูนทนไฟลงในถังทีละน้อย ในขณะที่โรยเปิดสว่านติดใบพัดกวนอยู่ตลอดเวลา
- กวนต่อจนกว่าปูนทนไฟกับน้ำจะเป็นเนื้อเดียวกัน ให้เหนียวพอเหมาะกับการใช้งาน ทดสอบได้โดยการใช้เกรียงปาดเนื้อปูนขึ้นมาในแนวดิ่ง หากเนื้อปูนหลุดออกจากเกรียงทันที แปลว่ายังเหลวเกินไป ปูนที่เหมาะสมต้องสามารถเกาะอยู่บนเกรียงได้ และเมื่อสลัดเบา ๆ จะหลุดออกจากเกรียง
- ปูนชนิด Air Setting Mortar ควรผสมหมักทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วกวนอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
การเตรียมปูนทนไฟชนิกเปียก
- เปิดฝาถังออก ใช้สว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนเนื้อปูน โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
- หากเนื้อปูนทนไฟข้นเกินไป สามารถเติมน้ำสะอาดได้เล็กน้อยเพื่อปรับความหนืดของปูนให้เหมาะสมกบการใช้งาน และกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
ควรเก็บปูนทนไฟไว้ในที่ร่ม แห้ง ไม่เปียกชื้น และไม่วางซ้อนทับกันเกินกว่า 2 กระบะ เพราะจะเพิ่มแรงกดทับ และทำให้ปูนแข็งตัวจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปูนทนไฟ HM และ ปูนทนไฟ AM |
||
หัวข้อ | ปูนทนไฟ HM | ปูนทนไฟ AM |
1. ชนิด | ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อนจึงจะแข็งตัว | ปูนทนไฟที่สามารถแข็งตัวได้ในอุณหภูมิห้อง |
2. ลักษณะ | เป็นผง คล้ายปูนซีเมนต์ปกติ | มีทั้งแบบผง และแบบเปียกสำเร็จรูปพร้อมใช้งานได้ทันที |
3. คุณสมบัติการทนไฟ | ทนไฟได้สูงสุด 1,500-1,725 องศาเซลเซียส | ทนไฟได้สูงสุด 1,500-1,650 องศาเซลเซียส |
4. การใช้งาน | เหมาะกับการสร้างเตาเผาต่าง ๆ เช่น เตาเผาพิซซ่า เตาเมรุ | เหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนัก และมีการเคลื่อนไหว เช่น รถเตาเผาปูน ผนังโกดันสินค้า ผนังบันได้หนีไฟ |
พี่อิฐหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปูนทนไฟ และช่วยให้คุณเลือกใช้งานปูนทนไฟได้ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่ใช้งาน และอย่าลืมดูคุณสมบัติของอิฐทนไฟที่ใช้งานร่วมกันด้วยนะครับ พี่อิฐหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปูนทนไฟ และช่วยให้คุณเลือกใช้งานปูนทนไฟได้ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่ใช้งาน และอย่าลืมดูคุณสมบัติของอิฐทนไฟที่ใช้งานร่วมกันด้วยนะครับ พี่อิฐหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปูนทนไฟ และช่วยให้คุณเลือกใช้งานปูนทนไฟได้ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่ใช้งาน และอย่าลืมดูคุณสมบัติของอิฐทนไฟที่ใช้งานร่วมกันด้วยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : ที่มา สยามอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ