รู้หรือไม่ อิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อก ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ก็มี มอก. ด้วย ซึ่งข้อดีของอิฐบล็อก มอก. คือแข็งแกร่ง ทนทานกว่าอิฐบล็อกทั่วไป และมีมาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจ เพราะผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาแล้ว ว่าแต่อิฐบล็อก มอก.นั้น มีกี่ประเภทกัน แล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้พี่อิฐได้รวบรวมคำตอบไว้แล้ว ตามมาดูกันเลย
- ประเภทของอิฐบล็อก มอก.
- อิฐบล็อก มอก.57-2533 คืออะไร?
- อิฐบล็อก มอก.58-2533 คืออะไร?
ประเภทของอิฐบล็อก มอก.
มอก. ของอิฐบล็อก ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนดนั้น มีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งแยกตามคุณสมบัติดังนี้ อิฐบล็อก มอก.57-2533 (คอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก) และอิฐบล็อก มอก.58-2533 (คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก) อิฐบล็อก มอก.59-2516 (อิฐคอนกรีต) และ อิฐบล็อก มอก.60-2516 (คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก) แต่วันนี้พี่อิฐจะขอแนะนำสำหรับอิฐบล็อก มอก.57-2533 และ อิฐบล็อก มอก.58-2533 ที่มีรูปร่าง ลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่มีคุณสมบัติที่ต่างกัน
อิฐบล็อก มอก.57-2533 คืออะไร?
คือ คอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก ลักษณะทั่วไปต้องปราศจากรอยแตกร้าว หรือมีร่องรอยชำรุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการก่อ เป็นเหตุให้สิ่งก่อสร้างเกิดการเสียหาย ไม่แข็งแรง และต้องมีผิวสัมผัสหยาบพอที่จะสามารถยึดจับปูนก่อ ฉาบ และปูนแต่งได้อย่างดี นอกจากนี้การที่อิฐบล็อก มอก.57-2533 สามารถมีรอยบิ่นเล็กน้อยถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่รอยบิ่นจะต้องมีความยาวไม่เกิน 25 มิลลิเมตร
คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังต่อไปนี้
ชั้นคุณภาพ ก ใช้สำหรับก่อกำแพงภายนอก โดยไม่มีการฉาบปกปิดผิวแต่อย่างใด ซึ่งต้องไม่เกิดความเสียหาย แม้ต้องเผชิญกับความชื้นจากใต้ดิน หรือน้ำฝน
ชั้นคุณภาพ ข ใช้สำหรับก่อกำแพงภายนอก โดยมีการฉาบ หรือทาสีเคลือบ ปกปิดผิว
ชั้นคุณภาพ ค ใช้สำหรับก่อกำแพงภายใน หรือภายนอก เหนือระดับดิน โดยที่มีการปกปิดผิว ป้องกันความเสียหายเนื่องจากดินฝ้าอากาศ
ขนาดของอิฐบล็อก มอก.57-2533 มีหลากหลายขนาด ตามตารางด้านล่าง และทุกขนาดสามารถคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร วัดได้จากเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดเป็นหน่วยมิลลิเมตร
ขนาดของอิฐบล็อก มอก.57-2533
|
90 x 190 x 190 |
140 x 190 x 190 |
190 x 190 x 190 |
90 x 190 x 290 |
140 x 190 x 290 |
190 x 190 x 290 |
90 x 190 x 390 |
140 x 190 x 390 |
190 x 190 x 390 |
สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมายเหตุ ขนาดคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักที่กำหนด เป็นขนาดที่ออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามระบบการประสานทางพิกัดในงานก่อสร้างอาคาร
ความหนาของเปลือก และผนังกั้นโพรงต้องเป็นไปตามที่กำหนด และมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถดูได้ตามตารางด้านล่าง
ความหนาของเปลือก และผนังกั้นโพรง อิฐบล็อก มอก. 57-2533 | |||
ความหนาระบุ (ของก้อน) |
ความหนาของเปลือกต่ำสุด | ความหนาของผนังกั้นโพรง | |
ผนังกั้นโพรงต่ำสุด | ความหนาของผนังกั้นโพรง เทียบเท่าต่ำสุด ต่อความยาว 1 เมตร |
||
90 มม. | 19 มม. | 19 มม. | 135 มม. |
140 มม. | 25 มม. | 25 มม. | 185 มม. |
190 มม. | 31 มม. | 25 มม. | 185มม. |
ค่าความต้านแรงอัด อิฐบล็อก มอก. 57-2533 | ||||
ชั้นคุณภาพ | เฉลี่ยจากพื้นที่รวม | เฉลี่ยจากพื้นที่สุทธิ | ||
เฉลี่ยจากคอนกรีตบล็อก (5 ก้อน) |
คอนกรีตบล็อกแต่ละก้อน | เฉลี่ยจากคอนกรีตบล็อก (5 ก้อน) |
คอนกรีตบล็อกแต่ละก้อน | |
ก | 7 | 5.5 | 14 | 11 |
ข | 7 | 5.5 | – | – |
ค | 5 | 4 | – | – |
สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ค่าการดูดกลืนน้ำ อิฐบล็อก มอก. 57-2533
|
||||||
น้ำหนักคอนกรีตเมื่ออบแห้ง กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร | ||||||
ชั้นคุณภาพ | น้อยกว่า 1,680 | 1,681 และ 1,760 | 1,761 และ 1,840 | 1,841 และ 1,920 | 1,921 และ 2,000 | มากกว่า 2,000 |
ก | 240 | 224 | 208 | 192 | 176 | 160 |
ข | 288 | 272 | 256 | 240 | 224 | 208 |
ค | – | – | – | – | – | – |
สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อิฐบล็อก มอก.58-2533 คืออะไร?
คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก ลักษณะทั่วไปตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดนั้น มีความคล้ายคลึงกับลักษณะของคอนกรีตบล็อกกลวงรับน้ำหนัก คือต้องปราศจากรอยแตกร้าว หรือมีร่องรอยชำรุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการก่อ เป็นเหตุให้สิ่งก่อสร้างเกิดการเสียหาย ไม่แข็งแรง และต้องมีผิวสัมผัสหยาบพอที่จะสามารถยึดจับปูนก่อ ฉาบ และปูนแต่งได้อย่างดี ซึ่งสามารถมีรอยบิ่นเล็กน้อยได้ แต่ต้องเป็นรอยที่มีความยาวไม่เกิน 25 มิลลิเมตร
ขนาดของอิฐบล็อก มอก.58-2533 มีหลากหลายขนาด ตามตารางด้านล่าง ทุกขนาดสามารถคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน หรือน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร และความหนาของเปลือกต้องไม่น้อยกว่า 12 มิลลิเมตร วัดได้จากเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดเป็นหน่วยมิลลิเมตร
ขนาดของอิฐบล็อก มอก.58-2533
|
70 x 190 x 190 |
90 x 190 x 190 |
140 x 190 x 190 |
190 x 190 x 190 |
70 x 190 x 290 |
90 x 190 x 290 |
140 x 190 x 290 |
190 x 190 x 290 |
70 x 190 x 390 |
90 x 190 x 390 |
140 x 190 x 390 |
190 x 190 x 390 |
สืบค้นวันที่ 08/07/2563 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมายเหตุ ขนาดคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักที่กำหนด เป็นขนาดที่ออกแบบเพื่อให้เป็นไปตามระบบการประสานทางพิกัดในงานก่อสร้างอาคาร
อิฐบล็อก มอก. ที่แนะนำ
คุณสามารถขอเอกสาร มอก. จากผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายเป็นการการันตี ว่าอิฐบล็อกนี้ได้รับเครื่องหมายมอก.จริง ๆ เพื่อให้คุณได้อิฐบล็อกที่มีคุณภาพ มาตรฐานตามที่คุณต้องการ และนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจนะครับ
ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารมอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม